ผนังกันเสียง

ผนังกันเสียง หรือเรียกกันหลายชื่อว่า “ผนังกั้นเสียง” “ผนังอคูสติค” “ผนังเก็บเสียง” “อคูสติควอลล์” และ “ระบบผนังกันเสียง” นิยมใช้เพื่อ แก้ปัญหาเสียงดัง แก้ปัญหาเสียงสะท้อน สำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่หรือที่โล่ง ทั้งในโรงงาน แก้ปัญหาเสียงดังเครื่องจักรและระบบการผลิต หรือในอาคาร ทั้งที่ทำงาน และที่พักอาศัย เป็นการแก้ปัญหามลภาวะทางเสียงโดยใช้หลักการสะท้อนเสียง ออกไปไม่ให้ทะลุผ่านผนังนั้น (soundproof wall) หรือ ดูดซับเสียง (sound-absorption wall) จากด้านหนึ่งเข้าไปเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนก่อนส่งผ่านออกไปยังด้านตรงข้าม ในระดับเสียงที่ลดลง จนผู้ฟังไม่เกิดความรู้สึกรำคาญ หรือเกิดอันตรายต่อระบบประสาทหู ปัจจัยที่ทำให้ผนังกั้นเสียง มีราคาต่อหน่วยไม่เท่ากัน และลดระดับเสียงลงได้ไม่เท่ากัน ได้แก่ วัสดุที่นำมาใช้สำหรับผนังนั้น เสียงแวดล้อม และ ความคาดหวังหรือข้อกฎหมายที่เสียงจะต้องลดลง เป็นต้น โดยส่วนมากพบว่า ผนังกั้นเสียง จะเป็นระบบผนังเบาที่ไม่สามารถถอดหรือแยกชิ้นได้ และเหมาะกับผนังห้องหรือผนังอาคาร สำหรับโครงการหรืออาคารที่ ต้องการลดเสียงดัง ผนังกันเสียงส่วนใหญ่ จะเป็นผนังที่มี ฉนวนดูดซับเสียง เป็นส่วนประกอบอยู่ตรงกลางและมี ฉนวนกันเสียง ติดกับผนังด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้งสองด้าน ในกรณีที่เป็นผนังคั่นกลางห้อง หรือกลางพื้นที่ วัสดุที่ใช้ทำระบบผนังกันเสียง นอกจาก ฉนวนกันเสียงแล้วได้แก่ ผนังยิปซั่ม ผนังสมาร์ทบอร์ด ผนังไฟเบอร์ซีเมนต์ ผนังอิฐมอญ ผนังอิฐมวลเบา ผนังก่ออิฐฉาบปูน ผนังคอนกรีต ผนังไม้กระดานอัด และผนังแบบอื่นๆ โดยต้องคำนึงถึงคุณสมบัติในการดูดซับเสียง NRC (Noise Reduction Coefficient) ก่อนการตัดสินใจออกแบบหรือเลือกใช้ ตัวอย่างค่า Sound Absorption Coefficient (Sabins/ sqf) +/- 0.50 by averageของฉนวนใยแก้วแบบ needle mat สำหรับ density 160 K ที่ความหนาต่างๆกัน
Frequency Thickness 0.25” Thickness 0.50” Thickness 1.00”
250 Hz 0.04 0.07 0.29
500 Hz 0.17 0.30 0.86
1000 Hz 0.40 0.72 0.95
2000 Hz 0.68 0.94 0.92
4000 Hz 0.94 0.97 0.95
ตัวอย่างการพิจารณาค่า STC (Sound Transmission Class) ของฉนวนกันเสียง สำหรับงานผนังกันเสียงของพื้นที่ออกแบบ
(อ้างอิงจาก The American Institute of Architects, หนังสือ Architectural Graphic Standards, 7th Edition)
ประเภทอาคาร ประเภทอาคาร พื้นที่ใกล้เคียง ค่ากันเสียง(STC) ขั้นต่ำ
อาคารห้องพักอาศัย ห้องนั่งเล่น ห้องนั่งเล่นติดผนังทึบ พื้นที่ภายนอกอาคาร 48-55 37-60
บ้านเดี่ยว ห้องนั่งเล่น ห้องนอนที่อยู่ติดกัน พื้นที่ภายนอกอาคาร 40-48 37-60
ห้องทำงานทั่วไป ห้องทำงาน ห้องทำงานที่อยู่ติดกัน พื้นที่เครื่องจักรทำงาน 45 52
ห้องทำงานในพื้นที่โรงงาน ห้องทดสอบปฏิบัติการ ห้องปฏิบัติการ พื้นที่บริเวณนอกอาคาร 42+ 37-60+
ห้องชุดคอนโดมิเนียม ห้องนอน ห้องนอนที่อยู่ติดกัน ห้องนั่งเล่นแยกจากห้องนอน 48+ 50+

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น