วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562

อันตรายจากเสียงเกิดขึ้นได้อย่างไร


อันตรายจากเสียงเกิดขึ้นได้อย่างไร

"สาระดีๆ มีไว้แบ่งปัน" ... โดย Newtech Insulation



            เสียงรบกวนหรือเสียงที่ดังเกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด สามารถสร้างอันตรายต่อระบบการได้ยินของมนษย์ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายรวมถึงสุขภาพจิต ทั้งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อความปลอดภัยในการทำงานอีกด้วย หากท่านประสบหรือพบเห็นผู้ที่สัมผัสเสียงเกินกว่า 85 dBA เป็นเวลายาวนานต่อเนื่องกันโดยไม่มีเครื่องป้องกันหู ควรแนะนำให้ทราบถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อระบบการได้ยิน ซึ่งท้ายที่สุดอาจจะก่อให้เกิดการสูญเสียการได้ยินอย่างถาวร (permanent hearing loss)

            อันตรายจากเสียงดังทั้งแบบต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หรือดังกระแทกแบบช่วงสั้นๆ สามารถทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินขึ้นได้ในสองรูปแบบ แบบแรกจะเป็นการสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว หรือที่เรามักจะเรียกว่า “หูดับ” หรือ “หูอื้อชั่วขณะ” และแบบที่สองคือการสูญเสียการได้ยินแบบถาวร ซึ่งหมายถึงการสูญเสียที่ไม่สามารถทำการรักษาหรือฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิมได้นั่นเอง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วการสูญเสียการได้ยินแบบถาวรนั้นจะเกิดในช่วงความถี่สูง ประมาณช่วง 3000-6000 Hz

นอกจากการสูญเสียการได้ยินแล้ว อันตรายจากเสียงยังมีอีกหลายประการ ดังนี้
• ความด้นโลหิตสูงขึ้นกว่าปกติ เนื่องจากสมดุลร่างกายเปลี่ยนแปลงไป
• เส้นเลือดหดตัวมากกว่าปกติ อันอาจจะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ
• ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อทำงานผิดไปจากปกติ
• รู้สึกมีอาการท้องใส้ปั่นป่วน หรือปวดท้อง
• มีอาการนอนไม่หลับ แม้เสียงนั้นจะเงียบแล้วก็ตาม
• เกิดความเครียดสะสม และอาจเริ่มต้นมีความรู้สึกหดหู่
• หงุดหงิด โมโหง่าย ควบคุมอารมณ์ไม่ได้เหมือนเดิม

วิธีการสังเกตว่าเรากำลังทำงานหรืออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่อาจได้รับอันตรายจากเสียง
• ต้องตะเบ็งเสียงหรือตะโกนเพื่อให้คู่สนทนาได้ยิน
• ไม่เข้าใจหรือไม่ได้ยินเสียงจากคู่สนทนา ในระยะห่างประมาณ 1 เมตร
• รู้สีกอื้ออึง เหนื่อยล้าและวิงเวียนศีรษะ
• รู้สึกว่าปวดในหู หรือมีเสียงดังวิ้งๆอยู่ในหูตลอดเวลา

เสียงดังทำลายระบบประสาทหูและการได้ยินของเราได้อย่างไร
• เสียงเข้าสู่หูเราในรูปคลื่น ยิ่งเสียงดังมาก คลื่นที่เข้าไปในรูหูจะลูกใหญ่มาก
• ใบหูชั้นนอกจะรับคลื่นเสียง เพื่อให้คลื่นเสียงเข้าไปกระทบกับหูชั้นกลางและเกิดความสั่นสะเทือน
• จากนั้นคลื่นเสียงที่ถูกแปลงเป็นความสั่นสะเทือน จะเดินทางไปยัง cochlea หรืออวัยวะรูปก้นหอย ซึ่งมีเส้นขนขนาดเล็กอยู่เป็นจำนวนมาก และมีหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณความสั่นสะเทือนเป็นคลื่นไฟฟ้าส่งต่อไปยังสมองเพื่อประมวลผลต่อยังเส้นประสาทเกี่ยวกับระบบการได้ยิน
• เฉพาะเส้นขนที่แข็งแรงของอวัยวะรูปก้นหอยเท่านั้น ที่สามารถส่งคลื่นไฟฟ้าไปยังสมองส่วนของระบบการได้ยิน จากนั้นสมองจะสั่งการต่อว่าจะตอบสนองต่อเสียงที่เราได้ยินอย่างไร
• ถ้าเส้นขนของอวัยวะรูปก้นหอยถูกคลื่นเสียงหรือความสั่นสะเทือนกระทบอย่างรุนแรง ก็จะเกิดการเสียหาย เมื่อโดนบ่อยๆ เส้นขนเหล่านี้ก็จะหายไปไม่สามารถขึ้นมาใหม่ได้อีก ทำให้คลื่นไฟฟ้าในช่วงที่ขนหายไปไม่เกิดขึ้น อันหมายถึงสมองไม่สามารถรับรู้หรือสั่งให้ส่วนอื่นๆตอบสนองต่อเสียงที่เกิดขึ้นนอกหูได้นั่นเอง

LINE@newtechinsulation

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ลดเสียงรบกวนจากระบบทำความเย็น



ลดเสียงรบกวนจากระบบทำความเย็น

แก้ปัญหาเสียงดังรบกวนจากพัดลมเติมอากาศ



โรงงานหรือผู้ประกอบการที่มีปัญหาเสียงดังจากระบบระบายความร้อน ไม่ว่าจะเป็นพัดลม ชิลเลอร์ คูลลิ่งทาวเวอร์ AHU ส่งเสียงดังรบกวนผู้อยู่อาศัยนอกโรงงาน หรือทำให้ค่าเสียงในโรงงานเกินกว่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด

ติดต่อ บจก.นิวเทค อินซูเลชั่น ให้ไปช่วยแก้ไข ปรับปรุงได้นะคะ

โทร.098-995-4650

Line@newtechinsulation

https://youtu.be/zvfsq1bRThM


วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

แก้เสียงรบกวนด้วยฉนวนกันเสียงหรือแผ่นซับเสียง


แก้เสียงรบกวนด้วยฉนวนกันเสียงหรือแผ่นซับเสียง


นิยามของคำว่า “เสียงรบกวน”
เสียงรบกวนคือ “เสียงที่เราไม่ต้องการได้ยิน” ไม่ว่าเสียงนั้นจะดังหรือเบา จะเป็นเสียงดังต่อเนื่องหรือเป็นเสียงกระแทก จะเกิดขึ้นในเวลากลางวันหรือในเวลากลางคืนก็ตาม หากเป็นเสียงที่เราไม่อยากได้ยิน นั่นคือเสียงรบกวน การวัดระดับเสียงรบกวนมีสองแบบคือ 1) วัดโดยใช้เครื่องวัดเสียงตามข้อกำหนดและระเบียบวิธีการวัดเสียงรบกวนของกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งระบุให้มีความต่างของเสียงไม่เกิน 10 dBA (ขณะที่มีการรบกวนและขณะที่ไม่มีการรบกวน) และ 2) วัดโดยใช้ความรู้สึกของผู้ถูกรับเสียง หากค่าการรบกวนไม่เกิน 10 dBA แต่ปรากฎว่าผู้รับเสียงมีความเดือดร้อนรำคาญ ทรมานในการใช้ชีวิตประจำวัน ก็ถือว่าเป็นการรบกวนหรือเหตุเดือดร้อนรำคาญ ซึ่งจะไปสอดคล้องกับข้อกฎหมายของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข



ทำความรู้จัก “ฉนวนกันเสียง
ฉนวนกันเสียงหมายถึง “วัสดุที่มีคุณสมบัติต้านทานพลังงานที่ทำให้ความดันบรรยากาศเปลี่ยนไป” เมื่อระดับความดังเสียงเกิดจากแรงดันอากาศรอบๆตัวเราถูกความสั่นสะเทือนทำให้เปลี่ยนไป คลื่นพลังงานดังกล่าวที่เข้ามากระทบหูของเรา ทำให้สมองเราเกิดการรับรู้หรือได้ยินเป็นเสียงต่างๆขึ้นมา ฉนวนกันเสียงจะทำหน้าที่ต้านทานพลังงานเสียงให้ทะลุผ่านได้ยากที่สุด หรือทะลุผ่านแต่เหลือพลังงานเสียงน้อยลงจนไม่เป็นอันตรายต่อผู้รับเสียง ฉนวนกันเสียงจะต่างกับวัสดุกันเสียงคือ ฉนวนกันเสียงโดยมากจะอยู่ในรูปของเส้นใยหรือรูพรุน เช่น ฉนวนใยแก้ว ฉนวนใยหิน ฉนวนใยโพลีเอสเตอร์ แต่วัสดุกันเสียงจะอยู่ในลักษณะเป็นแผ่น ก้อน ที่มีความหนาแน่นสูง เช่น แผ่นคอนกรีต อิฐตัน ยางหล่อ แผ่นคอมโพสิต





ทำความรู้จัก “แผ่นซับเสียง”
แผ่นซับเสียงหมายถึง “วัสดุที่มีความสามารถในการรองรับพลังงานเสียงและมีคุณสมบัติในการสะท้อนเสียงน้อยที่สุด” แผ่นซับเสียงโดยมากจะมีเนื้อวัสดุที่ไม่ต่อเนื่องกัน เพื่ออาศัยโพรงหรือช่องอากาศในเนื้อวัสดุ ได้ให้คลื่นเสียงเดินทางผ่านเข้าไปตามช่องว่างเหล่านั้นและเกิดการสะท้อนกลับได้น้อยที่สุด แผ่นซับเสียงที่ดูดซับพลังงานเสียงไว้ไม่ได้ทั้งหมด จะยอมให้พลังงานเสียงส่วนเกินทะลุผ่านออกไปยังอีกด้านหนึ่ง ด้วยเหตุผลนี้เอง หากเราเลือกใช้แผ่นซับเสียงที่ไม่เหมาะสมกับแหล่งกำเนิดเสียงและสภาพแวดล้อม นอกจากเสียงจะทะลุแผ่นซับเสียงแล้วยังสะท้อนกลับหรือแผ่นซับเสียงนั้นเก็บพลังงานเสียงได้น้อยด้วย
เลือกอะไรดี “ฉนวนกันเสียง” หรือ “แผ่นซับเสียง”
การจะตัดสินใจเลือกใช้ระหว่างฉนวนกันเสียงหรือแผ่นซับเสียงนั้น ประการแรกต้องสรุปปัญหาเสียงรบกวนที่เกิดขึ้นให้ได้ก่อนว่าเป็นเสียงรบกวนที่มาจากด้านในหรือว่าด้านนอกห้อง (พื้นที่รับเสียง) หากเสียงรบกวนมาจากภายนอกห้องก็จะใช้ระบบฉนวนกันเสียงในการลดเสียงรบกวน แต่หากเสียงที่ไม่พึงปราถนาเกิดขึ้นภายในห้องหรืออาคารก็ต้องใช้วัสดุหรือแผ่นซับเสียงในการลดเสียงรบกวน ข้อผิดพลาดที่พบเจอได้มากก็คือ การนำแผ่นซับเสียงมากรุที่ผนังห้องนอนเพื่อลดเสียงรบกวนจากยานพาหนะบนถนนนอกบ้าน จริงอยู่ว่าการติดแผ่นซับเสียงในผนังห้องอาจทำให้เสียงจากด้านนอกทะลุผ่านผนังห้องได้น้อยลง แต่แผ่นซับเสียงก็ยังขาดคุณสมบัติในการกันเสียงที่ดีเหมือนฉนวนกันเสียง ส่งผลให้เสียงอาจจะเบาลงแต่ความเดือดร้อนรำคาญจากเสียงภายนอกมิได้หมดไปนั่นเอง


วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562

เพราะเรา เข้าใจเรื่องเสียง





บริการลดเสียงดังรบกวน   พร้อมรายงานเสียงก่อนและหลังปรับปรุง

โทร.098-995-4650   LINE@newtechinsulation

E-mail: contact@newtechinsulation.com



designed for comfort, engineered for control

https://www.ฉนวนกันเสียง.com

https://youtu.be/sd6_6UTXUFU

วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2562

บริการวัดเสียงรบกวนยามวิกาล





บริการตรวจวัดเสียงรบกวนยามวิกาล เพื่อคุณภาพการนอนหลับที่ดีกว่า
อย่ารอจนสุขภาพจิตเสียไปนะคะ

#แก้เสียงรบกวน #แก้เสียงดังรำคาญ
#ลดเสียงดังในโรงงาน #วัดเสียงรบกวน #นอนไม่หลับ #ฉนวนกันเสียง
 
โทร. 098-995-4650
LINE@newtechinsulation
E-mail : contact@newtechinsulation.com
 

วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2562

"ZAVE" ฉนวนประหยัดค่าไฟฟ้า





"ZAVE" ฉนวนประหยัดค่าไฟฟ้า/ฉนวนกันความร้อนแบบถอดได้ สำหรับ plastic extrusion, plastic injection ลดความร้อนแผ่ เพิ่มความปลอดภัย ลดค่าไฟฟ้าได้จริง Line @newtechinsulation

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

แก้ปัญหาเสียงดังรบกวน ด้วย แผ่นซับเสียง NSORP รุ่น RT60





แก้ปัญหาเสียงรบกวน เสียงก้อง เสียงสะท้อน ได้ด้วยตัวคุณเอง แผ่นซับเสียง NSORP รุ่น RT60 พร้อมทีมงานที่คอยให้คำแนะนำและคำนวณค่าการลดลงของเสียง หลังการติดตั้ง เริ่มต้นเพียง 800 บาท/แผ่น เท่านั้น

Line @newtechinsulation


จุดเด่นของแผ่นซับเสียง NSORP
·       ซับเสียงได้ดีเยี่ยม แก้ปัญหาเสียงก้องในห้องได้จริง
·       เมื่อติดผนังห้องสามารถกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้
·       ติดตั้งได้เอง ไม่ต้องรอช่าง ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่เสียเวลา
·       ติดตั้งเฉพาะจุดที่ต้องการ ก็ลดเสียงได้ ไม่จำเป็นต้องติดเต็มผนัง
·       สามารถย้ายแผ่น สลับสี เปลี่ยนรูปทรงได้ ไม่น่าเบื่อ
·       เป็นของตกแต่งห้อง ช่วยให้ห้องดูดีมีสีสัน
·       มีให้เลือกทั้งตีมส่วนตัว ตีมธุรกิจและตีมโรงงาน
·       เลือกสีมาตรฐานได้ถึง 15 เลือกรูปทรงของฉนวนได้ถึง 6 แบบ
·       พร้อมบริการออกแบบลวดลายการติดตั้งให้ฟรี
·       คละสี คละไซส์ได้ ซื้อเท่าที่อยากได้ ไม่มีขั้นต่ำ

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

แผ่นซับเสียง NSORP รุ่น RT60





Newtech Insulation Co., Ltd. โทร.098-995-4650
LINE@newtechinsulation

แผ่นซับเสียง NSORP รุ่น RT60
ราคาเริ่มต้น 500 บาท/แผ่น

-มีให้เลือกมากกว่า 15 สีหลัก เข้าได้กับทุกสไตล์ของห้อง
-ติดตั้งได้เอง ไม่ต้องจ้างช่าง ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
-ราคาถูก น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายจุดติดตั้งได้สะดวก
-คละสีได้ เลือกสีที่ถูกใจไปตกแต่งห้องได้ทันที
-ไม่จำเป็นต้องติดเต็มพื้นที่ ก็ลดเสียงสะท้อนได้น่าพอใจ

ใช้งาน
-ลดเสียงรบกวนในห้องประชุม
-ลดเสียงสะท้อนในห้องซ้อมดนตรี
-ลดเสียงก้องในพื้นที่สำนักงานขนาดใหญ่
-แต่งเสียงในห้องดูหนังฟังเพลง
-กันเสียงรบกวนในคอนโดหรือทาวเฮ้าส์

วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2562

แผ่นซับเสียง


เมื่อไรที่ต้องใช้แผ่นซับเสียง
เมื่อเราต้องการลดเสียงก้องกังวานหรือเสียงสะท้อนภายในห้อง การติดตั้งแผ่นซับเสียงหรือวัสดุซับเสียง ดูจะเป็นแนวทางการลดปัญหาเสียงก้องเสียงสะท้อนที่ประหยัดเงินสุด และได้ผลค่อนข้างเป็นที่น่าพอใจหรือได้ผลดีเลิศในหลายๆกรณี เช่น ติดตั้งแผ่นซับเสียงในห้องประชุม การติดตั้งวัสดุซับเสียงในห้องอบรมหรือห้องสัมมนา การเพิ่มวัสดุที่มีพื้นที่ในการดูดซับเสียง ไม่ว่าจะเป็นพรม เก้าอี้ที่มีฟองน้ำ รวมไปถึงผ้าม่านที่หน้าต่างหรือประตูห้อง เหล่านี้ล้วนเพิ่มพื้นที่ดูดซับพลังงานเสียง ทำให้ค่าการสะท้อนของเสียงลดลง ส่งผลให้สื่อสารกันได้โดยไม่ต้องตะโกนหรือเสียสมาธิในการใช้ห้องหรือพื้นที่นั้นๆ
แผ่นซับเสียงมีกี่แบบ
วัสดุที่ใช้ในการลดเสียงโดยส่วนมากจะถูกผลิตขึ้นจากวัตถุดิบไม่กี่ประเภท โดยเฉพาะวัสดุซับเสียงหรือแผ่นซับเสียงที่เราเรียกกัน จะผลิตจากวัสดุที่มีเส้นใยสั้นๆหรือมีความพรุนอยู่ด้านใน ไม่แข็งจนเป็นเนื้อเดียวกันไปหมด แผ่นซับเสียงที่มีจำหน่ายในเมืองไทยส่วนใหญ่จะเป็นวัสดุประเภท ใยแก้ว (fiberglass) ใยหิน (rockwool) ใยโปลีเอสเตอร์ (polyester felt) ยางสังเคราะห์ (synthetic rubber) ใยสแตนเลส (stainless steel wool) ใยอลูมิเนียม (aluminum wool) พียูโฟม (polyurethane foam) เยื่อไม้ (wood wool) เป็นต้น ซึ่งวัสดุดังกล่าวจะมีขนาด ความหนาแน่น น้ำหนัก และราคาที่ค่อนข้างต่างกันพอสมควร เช่น ใยสแตนเลส ที่ใช้สำหรับซับเสียงที่ปลายท่อไอเสียรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ จะมีน้ำหนักต่อตารางเมตรและราคาต่อหน่วยสูงกว่าแผ่นซับเสียงใยแก้วที่ใช้ลดเสียงสะท้อน ในห้องหรืออาคารบ้านพักอาศัยทั่วไป
ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพแผ่นซับเสียง
เช่นเดียวกับวัสดุทางวิศวกรรมหลายรายการ แผ่นซับเสียงจากผู้ผลิตแต่ละค่าย จะมีความพิเศษและคุณสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป แต่คุณสมบัติประการหนึ่งที่จะต้องแจ้งให้ผู้ใช้งานหรือผู้ออกแบบทราบก็คือ “ค่าสัมประสิทธิ์การซับเสียง” หรือ Sound Absorption Coefficient (SAC) โดยมีค่าเต็มคือ 1.0 และหากแต่ละความถี่เสียง (frequencies) มีค่า SAC เข้าใกล้ 1.0 เท่าไร ก็แสดงว่าแผ่นซับเสียงหรือวัสดุนั้นมีคุณสมบัติซับเสียงหรือลดพลังงานเสียงในย่านความถี่นั้นได้ดี เช่น หากมีค่า SAC ที่ 2000Hz คือ 0.95 แสดงว่าวัสดุนั้นสามารถดูดซับพลังงานเสียงที่ความถี่ 2000Hz ได้ร้อยละ 95 นั่นเอง ตัวชี้วัดต่อมาก็คือค่า Noise Reduction Coefficient (NRC) หรือ “ค่าสัมประสิทธิ์การลดเสียง” จะมีค่าเต็มคือ 1.0 เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ค่า NRC ของแผ่นซับเสียงยี่ห้อหนึ่ง ได้ถูกระบุว่า NRC 0.80 จะหมายถึงค่าเฉลี่ยของ SAC ที่ 250Hz 500Hz 1000Hz 2000Hz และ 4000Hz ของแผ่นซับเสียงนั้นนั่นเอง
ทำไมเลือกแผ่นซับเสียงที่มี ค่า SAC และ NRC สูงๆ แล้วเสียงยังไม่ลดลงหรือลดลงน้อยมาก
ข้อผิดพลาดประการหนึ่งในการนำแผ่นซับเสียงมาใช้ในงานลดเสียงดังจากเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีพลังงานเสียงสูง คือการพิจารณาค่า NRC และค่า SAC ของวัสดุเพียงอย่างเดียว แต่ไม่ได้คำนวณหรือวิเคราะห์ต่อไปในเรื่องของ พลังงานเสียง ความเข้มเสียง ความสั่นสะเทือนของแหล่งกำเนิดเสียง ความสั่นสะเทือนของโครงสร้าง ระยะความสูงของแหล่งกำเนิดเสียง ทิศทางที่เสียงเดินผ่าน รวมไปถึงการสอดแทรกของเสียงอื่นในบริเวณนั้น เพราะปัญหาเสียงดังรบกวนหรือเสียงดังเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดในบางกรณี ไม่สามารถลดเสียงหรือแก้ปัญหามลภาวะทางเสียงนั้นได้ด้วยแผ่นซับเสียงเท่านั้น จะต้องเป็นระบบผสมที่ช่วยให้การลดเสียงในส่วนต่างๆได้ผลพร้อมๆกันในคราวเดียว ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ของสตีมเทอร์ไบน์ที่มีระดับเสียงเกินกว่า 95 dBA จะไม่สามารถลดเสียงในบริเวณนั้นได้ โดยการทำห้องครอบและใช้แผ่นซับเสียงที่มีค่า NRC 0.80 แต่เพียงอย่างเดียวได้ จะต้องมีการลดเสียงที่ตัวสตีมเทอร์ไบน์และระบบต่อพ่วงเช่น ท่อ พัดลม หม้อพัก รวมไปถึงเสียงจากมอเตอร์ลงก่อน จึงจะไปคำนวณเลือกแผ่นซับเสียงที่สามารถลดเสียงส่วนที่เหลือได้
คุณสมบัติอื่นๆของแผ่นซับเสียงที่ควรพิจารณา
นอกเหนือไปจากค่า SAC และ NRC แล้ว ควรพิจารณาถึงคุณสมบัติด้านอื่นด้วย เช่น วัสดุซับเสียงที่ไม่ลามไฟ กันน้ำ ทนต่อแสงยูวีหรือการกัดกร่อนของสารเคมี น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย ไม่เป็นอันตรายต่อระบบหายใจ เป็นต้น การที่แผ่นซับเสียงมีคุณสมบัติเด่นด้านอื่นเพิ่มเติมเข้ามา ย่อมทำให้ราคาของแผ่นซับเสียงนั้นสูงขึ้นไปด้วย ซึ่งจะมีความสำคัญจำเป็นแค่ไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และเงื่อนไขในการใช้งานของผู้ออกแบบหรือเจ้าของพื้นที่นั่นเอง
สอบถาม ปรึกษา เพิ่มเติม แผ่นซับเสียง โทร. 098-995-4650 , 02-583-8035 LINE @newtechinsulation E-mail: contact@newtechinsulation.com 📷